วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก

ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก ตั้งอยู่บ้านหาดเล็ก ที่เป็นหมู่บ้านสุดชายแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา อยู่ปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวกัมพูชาเพื่อไปขายต่อที่เกาะกง และยังมีสินค้าราคาถูกที่มาจากประเทศกัมพูชา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น จากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยนั่งรถแท็กซี่จากชายแดนบริเวณบ้านหาดเล็กฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะไปเกาะกงได้ อัตราราคาค่าโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน และสำหรับการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปเกาะกงสามารถนั่งรถตู้จากตัวเมืองตราดไปหาดเล็ก โดยจะมีรถออกทุก ๆ ชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
หมายเหตุ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางข้ามไปกัมพูชาควรนำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และวีซ่า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเดินทางได้ที่ จุดตรวจชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. (039) 588-084 

เกาะกูด

เกาะกูด เกาะใหญ่อันดับ 2 ของหมู่เกาะทะเลตราด มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีหาดทรายและน้ำทะเลใสสีมรกต จนได้รับการขนานนามว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก" เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติที่ไม่ต้องการความวุ่นวาย นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปพักผ่อนในช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการท่องเที่ยว ที่สุดของท้องทะเลตราดต้องเกาะกูด พร้อมด้วยหาดทรายขาว ให้ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง

วิธีการเล่นตระกร้อ

 
 
 
 
 
 
 ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่น กันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย ตลอดจนไม่จะกัดผู้เล่นตายตัว อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมการเล่นตะกร้อจึงได้รับความนิยมตลอดมาซึ่งผู้ เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่นทั้งทางตรงและทางอ้อมนับอเนกประการดังนี้
                1 ) ตะกร้อเป็นกีฬาที่ประหยัด  ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้     ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี
                2 ) การเล่นตะกร้อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำ ให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและที่สำคัญผู้ที่เล่นตะกร้อยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่ง ที่ส่งเสริมกีฬาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย
                3 ) การเล่นตะกร้อยังเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาปะเภทอื่นได้เป็นอย่างดี 
เพราะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย
          
       4 ) การเล่นตะกร้อสามารถเล่นคนเดียวก็ได้  หรือ ถ้ามีผู้เล่นมากขึ้นก็สามารถปรับการเล่นได้ตามความเหมาะสม อันตรายจากการเล่นตะกร้อนั้นมีน้อยมาก เพราะจะไม่มีการปะทะหรือถูกต้องตัวกันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง หรือแม้แต่อุปกรณ์การเล่น ก็มิได้ทำให้เกิดอันตราย ถ้าผู้เล่นรู้จักสังเกตว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดก็ปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมให้ พร้อมก่อนที่จะเล่น การเคลื่อน ที่ด้วยความระมัดระวังก็จะทำให้เกิดการหกล้มเสียหลักได้ยาก และการเล่นตะกร้อนั้นสามารถใช้อวัยวะได้หลายส่วน ทำให้ไม่เกิดการบอบช้ำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วย
                  5 ) การเล่นตะกร้อ เป็นการฝึกให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว เพราะ ต้องมีความระมัดระวังตัวและเตรียมตัวพร้อมที่จะเข้าเล่นลูกในลักษณะต่างๆ อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวก็ต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกระฉับกระเฉง เพื่อให้ทันกับจังหวะที่จะเล่นลูก
                 6 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม รอบคอบ 
 เพราะ การเล่นหรือการเตะลูกแต่ละครั้งจะต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ถ้าหากใจร้อนหรือลุกลี้ลุกลน การเตะแต่ละครั้งก็จะเสียไป ทำให้เล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะพ่ายแพ้แก่คู่แข่งขันได้ง่าย
                7 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกการตัดสินใจ 
เพราะ ก่อนการเล่นลูกทุกครั้งจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทาง ความเร็ว ความแรงและลักษณะการหมุนของลูก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าต้องเล่นลูกด้วยท่าใด ส่งลูกไปยังทิศทางใด การกะระยะส่งลูก เป็นต้น
               8 ) การเล่นตะกร้อจะช่วยประสานหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายให้มีระบบการทำงานดีขึ้น และเป็นการฝึกประสาทได้เป็นอย่างดี
 เพราะการเล่นลูกแต่ละครั้งต้องอาศัยระหว่างความสัมพันธ์ ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ เพื่อทำให้การเตะและการเล่นลูกเป็นไปอย่างราบรื่น นิ่มนวลและได้จังหวะ ทั้งจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ มีการแก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นเพื่อแข่งขัน จะต้องมีการวางแผนการเล่นโดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เนื่องจากการแข่งขันจะชี้ได้ว่าใครมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบดีกว่าหรือมากกว่ากัน                                                                 
                9 ) การเล่นตะกร้อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและผู้ชม 
การ ร่วมวงเล่นตะกร้อมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
                10 ) การเล่นตะกร้อนั้นเล่นได้ไม่จำกัดเวลา 
คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น 
                11 ) กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่ 
 อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่น ๆ
                12 ) ตะกร้อเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย 
เพราะ เป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้ ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้

วิธีทำ ข้าวมันไก่

ข้าวมันไก่ถือเป็นอาหารฟาสต์ฟู๊ดยอดนิยมของคนไทย รสชาติอร่อย ทานง่าย แต่ในการปรุงเมนูนี้ อาจไม่ง่าย อย่างที่คิด จำเป็นต้องใช้ความชำนาญ และเวลาในการทำอยู่พอประมาณ เคล็ดลับของความอร่อย คือน้ำจิ่ม ที่จะเป็นตัวชูรสให้ ข้าวมันไก่ อร่อยยิ่งขึ้น ความนิยมของเมนูนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะติด อับดับ 1 ใน 10 ของอาหารไทยยอดนิยมที่ชาวต่างขาติและคนไทยชอบรับประทานเลยทีเดียว
 
 เครื่องปรุง + ส่วนผสม
ข้าวมันไก่* ไก่ 1 ตัว (น้ำหนักประมาณ 450 กรัม)
* ข้าวหอมมะลิ 5 ถ้วยตวง
* กระเทียม 5 กลีบ (ปอกเปลือกและทุบ)
* ขิงขนาดปานกลาง 1 ชิ้น (ปอกเปลือกและทุบ)
* เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
* ผักชี (สำหรับแต่งหน้าอาหาร)
 ส่วนผสม+เครื่องปรุงน้ำจิ้มข้าวมันไก่                                                       * เต้าเจี้ยว 1/2 ถ้วยตวง                                                           * ซิอิ๊วขาว 1/2 ถ้วยตวง
     * ซิอิ๊วดำ 1/4 ถ้วยตวง                                                            * น้ำตาล 1/2 ถ้วยตวง
     * ขิงสดหั่นละเอียด 1/4 ถ้วยตวง
     * กระเทียมหั่นละเอียด 1/4 ถ้วยตวง
  * พริกขี้หนูหั่นละเอียด 6 เม็ด
วิธีทำทีละขั้นตอน
1. ต้มไก่ในหม้อใบใหญ่ ใส่น้ำพอท่วมตัวไก่ และเติมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะลงไปด้วย
2. ต้มไก่จนไก่สุกทั่่ว ระหว่างต้ม ตักฟองและไขมันที่ลอยหน้าออกเพื่อไม่ให้อาหารมันมาก
3. นำไก่ออกมาจากหม้อ และหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ จัดเรียงไว้ในจานพร้อมเสริฟ
4. ในหม้อหุงข้าว, เติมข้าวหอมมะลิ 5 ถ้วยตวง และเติมน้ำซุปไก่ (ที่ได้จากการต้มไก่) ลงไปในหม้อตามระดับที่กำหนดไว้สำหรับข้าวห้าถ้วยตวง จากนั้นใส่กระเทียมและขิง จึงเปิดสวิชต์ให้หม้อหุงข้าวทำงาน รอจนข้าวสุก
5. ขณะที่รอข้าวสุก เตรียมทำน้ำจิ้มข้าวมันไก่ โดยผสมซิอิ๊วขาว, ซิอิ๊วดำ, เต้าเจี้ยว, น้ำตาล กระเทียม, ขิงและพริกขี้หนูเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงตักใส่ถ้วยน้ำจิ้ม
6. เสริฟข้าวมันกับไก่ที่หั่นไว้แล้วพร้อมน้ำจิ้ม และแตงกวาซอย (บางกรณีถ้าชอบ อาจใส่เลือดไก่เข้าไปด้วย)